fbpx

การเตรียมงานของหน้างานและการเตรียมคานรองรับแผ่นพื้น

การเตรียมงานของหน้างาน hollow core

การหล่อเสาของอาคาร

การหล่อเสาของอาคาร
การหล่อเสาของอาคาร

เนื่องจากการติดตั้งของ แผ่นพื้น Hollow Core นั้นจะกระทำเป็นชั้น ๆ ไปตามการก่อสร้างอาคารเมื่อผู้ก่อสร้างได้หล่อคานของชั้นที่จะติดตั้งด้วยแผ่นพื้นเสร็จส่วนหนึ่ง หรือเสร็จทั้งชั้น ผู้ติดตั้งแผ่นพื้นจึงจะเข้าติดตั้งในชั้นนั้น หรือบางส่วนของชั้นให้เสร็จแล้วผู้ก่อสร้างจึงจะหล่อเสาของชั้นต่อไป ในขณะที่ยังไม่ได้ติดตั้งแผ่นพื้น ไม่ควรหล่อเสาชั้นต่อไป เพียงแต่โผล่เหล็กเสาไว้เท่านั้น เพราะเสาที่หล่อแล้วในทางปฏิบัติ อาจผิดขนาดกว่าแบบแปลนซึ่งแม้แต่เพียงเล็กน้อย ช่องบากเสาเข้าของแผ่นพื้นก็อาจจะไม่สมารถวางลงได้ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งกีดขวาง การติดตั้งมาก แผ่นพื้นที่ยกขึ้นอาจลอยไปกระแทกทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้

หมายเหตุ โดยทั่วไปหากไม่มีอุปสรรคใด ๆ งานติดตั้งแผ่นพื้นสามารถทำได้ ประมาณ 500 ตร.ม. ต่อวัน

การจัดเตรียมสถานที่กองสะสม

การจัดเตรียมสถานที่กองสะสม

หลังจากได้วางแผนงานก่อสร้างแล้ว ต้องส่งเเผนงานนี้ทั้งแปลนอาคาร เพื่อกำหนดตำแหน่งและวันที่จะให้พื้นสำเร็จรูปเข้าติดตั้ง การเข้าติดตั้งแต่ละครั้งควรมีพื้นที่พร้อมที่จะให้ติดตั้งได้สะดวก มีบริเวณที่รถแผ่นและรถเครนเข้าได้ เมื่อต้องการให้พื้นเข้าติดตั้งภายในของอาคารท่านนควร จัดเตรียมสถานที่กองสะสมพื้นตามแนวอาคารของด้านนั้น ให้แข็งเเรงพอที่จะให้รถบรรทุกแผ่นพื้นและรถเครนเข้าได้โดยใกล้เคียงกับแนวอาคาร เพื่อที่รถเครนจะสามารถหยิบยก แผ่น เพื่อความสะดวกต่อการติดตั้ง การเตรียมพื้นที่กองแผ่นพื้น ต้องเตรียมล่วงหน้า 2 วัน

1. คานจะต้องมีแนว (Alignment)ที่ถูกต้อง ค่าความคลาดเคลื่อนไม่น้อยกว่า +-2 ซม.

2 คานจะต้องมีระดับ (Level) หลังคานที่ถูกต้องและราบเรียบ

3. คานจะต้องมีความราบเรียบที่ผิวหลังคานอย่างสม่ำเสมอตลอดแนวคาน ความราบเรียบนี้ หมายถึงราบเรียบใกล้เคียงกับการฉาบปูนที่ได้มาตรฐานในทางปฏิบัติในขณะเทคานควรมีช่างใช้เกรียงปาด และฉาบหลังคานให้เรียบมากที่สุด ทั้งนี้ควรคำนึงเสมอว่าหากหลังคานราบเรียบมากเท่าใดแผ่นพื้นย่อมรับน้ำหนักได้ดีเท่านั้น

4. คานที่ประกบด้านข้างของแผ่นพื้นจะต้องมีขนาดความกว้างของคานถูกต้องตามแบบแปลน ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่นเหล็ก หรือเศษคอนกรีตขรุขระติดด้านข้างคาน ในทางปฏิบัติที่เหมาะสม ควรให้ส่วนที่แผ่นพื้นชิดมีส่วนแคบกว่าส่วนหลวมประมาณ 2ซม. หรือจะทำการหล่อคานนี้ภายหลังจากการติดตั้งแผ่นพื้นเสร็จ

ขั้นตอนการวางพื้นสำเร็จรูป Hollow Core

1. เมื่อจะเข้าทำการวางแผ่นพื้นสำเร็จรูปผู้ก่อสร้างควรที่เช็คและตรวจสอบปรับระดับหลังคาน ที่จะวางแผ่นพื้นให้ได้ระดับและสะอาดเรียบร้อยเสียก่อน เพื่อจะวางแผ่นพื้นได้สะดวกรวดเร็วและเพื่อป้องกันการแตกร้าวของแผ่นพื้นด้วย

2 นำแผ่นพื้นสำเร็จรูปมาจัดวางเรียงชิดกันโดยตลอดตามแบบที่ระบุไว้ ต่อจากนั้น ควรยาร่องรอยต่อระหว่างแผ่นพื้นทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจมีเศษวัสดุ ตกลงในร่อง ซึ่งยุ่งยากต่อการเก็บขึ้นภายหลัง

3. ผูกเหล็กตะแกรงขนาด 6 มม. เป็นตะแกรงระยะห่าง @ 0.25 ม. หรือ wire mesh ขนาด4มม. @ 0.20ม.ที่ส่วนบนแล้วเท คอนกรีตทับหน้า (Topping Concrete) หนาตามที่แบบกำหนด ใช้อัตราส่วน 1:2:4 โดยปริมาตรและให้มีกำลังอัดประลัยไม่น้อยกว่า 210 กก/ตร.ซม. แล้วปาดหน้าให้เรียบหรือขูดสากหากจะปูกระเบื้อง

4. หลังจากเทคอนกรีตทับหน้าแล้วควรบ่มน้ำหรือบ่มวิธีอื่น ๆ ต่อไปอย่างน้อย 24 ชม.

การยาร่อง (Grouting) พื้นสำเร็จรูป Hollow Core

grouting in constructions

การยาร่องพื้นสำเร็จรูป Hollow Core คือ การอุดรอยต่อตามความยาวเรียงกันระหว่างแผ่นพื้น วัสดุที่ใช้ในการยาร่องคือ Mortar ซึ่งเป็นส่วนผสมของปูนซีเมนต์ น้ำและทรายในอัตราส่วน 1:1:4 โดยปริมาตร การยาร่องนี้ให้ประโยชน์มากเพื่อการกระจายน้ำหนักระหว่างแผ่นพื้นสำเร็จรูป

ขั้นตอนการยาร่องพื้นสำเร็จรูป Hollow Core ควรดำเนินการดังนี้

  • ทำความสะอาดร่องและเก็บเศษวัสดุอื่น ๆ ออกจากร่อง
  • 2 ราดน้ำลงในร่อง เพื่อให้ร่องเปียกและสะอาด
  • กรอก Mortar ลงในร่องและใช้เกรียงแทงให้เต็มร่องแล้วปาดปากร่องให้เรียบ ในขณะเดียวกันควรมีช่างแต่งรอยต่อใต้แผ่นพื้น สำหรับ Mortar ที่ยังเปียกอยู่จะสะดวก รวดเร็ว และสวยงามกว่าการแต่งรอยต่อใต้แผ่นพื้นหลังจาก Mortar เเข็งตัวแล้ว
  • ในกรณีที่เป็นพื้นชั้นดาดฟ้า ควรทำการยาร่องนำหน้า ก่อนการเทคอนกรีตทับหน้าไม่เกิน 30 นาที ทั้งนี้เพื่อให้ Mortar เป็นเนื้อเดียวกับคอนกรีตทับหน้าซึ่งจะช่วยกันน้ำซึมผ่านร่องได้ดีขึ้น

การวางเหล็กตะแกรง

การวางเหล็กตะแกรงสร้างอาคาร

เมื่อทำการจัดวางแผ่นพื้นสำเร็จรูปและทำการยาแนวร่องระหว่างแผ่นพื้นด้วย Mortar แล้วเสร็จ ควรปัดกวาดเศษวัสดุที่อยู่บนพื้นออกให้หมด แล้วจึงจัดวางเหล็กตะแกรงและเหล็กเสริมพิเศษอื่นใดที่กำหนดไว้ ก่อนทำการเทคอนกรีตทับหน้า

การเทคอนกรีตทับหน้า (Topping Concrete)

การเทคอนกรีตทับหน้าทำอย่างไร

เมื่อทำการจัดวางเหล็กตะแกรงเสร็จเรียบร้อยตามรูปแบบที่กำหนดไว้แล้วให้ทำความสะอาดแผ่นพื้นอีกครั้งโดยการฉีดน้ำ เพื่อล้างเศษวัสดุต่าง ๆอีกครั้ง จากนั้นให้เทคอนกรีตทับหน้าหนาตามแบบกำหนด ตามข้อแนะนำในการเทคอนกรีตทับหน้าพื้นหลังคาหรือดาดฟ้า เนื่องจากหลังคาหรือดาดฟ้าเป็นส่วนที่ต้องถูกแสงแดด ถูกฝน (ได้รับความร้อนจัดและเย็นจัดในทันที จึงมักทำให้เกิดรอยแตกร้าว จึงควรปฏิบัติก่อนการเทคอนกรีตทับหน้าดังนี้คอนกรีตทับหน้าควรเทให้หนากว่าปกติ ส่วนที่บางที่สุดไม่ควรน้อยกว่า 5ชม. และผสมน้ำยากันซึม ควรใช้ SLUMP  ต่ำเพื่อลดการแตกร้าวจากการหดตัวของผิวคอนกรีต เหล็กเสริมในคอนกรีตทับหน้าควรถี่ขึ้นและระมัดระวังในการวางตำแหน่งเหล็กเสริมกันแตกให้ใกล้ผิวบนมากที่สุด โดยระยะห่างจากเหล็กถึงผิวบนไม่ควรเกิน 2 ซม. เพราะอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในบริเวณผิวบน จากนั้นควรยาร่อง Mortar ให้เต็มล่วงหน้าก่อนเทคอนกรีตทับหน้าไม่เกิน 30 นาที (ไม่ควรใช้วิธีเทคอนกรีตทับหน้าแล้วให้ไหลลงไป) และต้องปรับความลาดเอียง (Slope) ให้ดีอย่าให้น้ำขังได้ สุดท้ายควรบ่มคอนกรีตอยู่ตลอดเวลาประมาณ 7 วัน

หากสนใจแผ่นพื้นท้องเรียบ คลิกเลย
https://bit.ly/3n84moN

หากสนใจแผ่นพื้นลอนเหลี่ยม คลิกเลย
https://bit.ly/3eor7Bf

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DCON
Website : http://www.dconproduct.com/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่ line @dcongroup หรือ inbox มาได้เลยนะครับ