fbpx

Plank Slab

18 Jan 2024
Plank Slab

5 ขั้นตอนเลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป

1.ตรวจสอบรอยร้าวบนแผ่นพื้นสำเร็จรูป ว่ามีรอยร้าวเกิดขึ้นบนพื้นสำเร็จรูประหว่างการขนส่งหรือไม่ แผ่นพื้นสำเร็จรูปที่ดี จะต้องไม่มีรอยร้าวก่อนและหลังการติดตั้ง . 2.ตรวจสอบจำนวนลวดของพื้นสำเร็จรูป ให้ตรงตามแบบที่กำหนดไว้ . 3.ตรวจสอบวิธีการกองพื้นสำเร็จรูป การวางกองต้องมีไม้หมอนรองรับแผ่นพื้น โดยระยะของไม้หมอน ควรห่างจากปลายแผ่นไม่เกิน 25 ซม. ตำแหน่งของไม้หมอนต้องวางตรงเป็นแนวเดียวกัน กองแผ่นพื้นไม่ควรวางสูงจนเกิน10 ชั้น เพราะแผ่นชั้นล่างสุดอาจจะแตกร้าวได้ และพื้นที่ใช้วางกองแผ่นพื้น ต้องเรียบ ไม่ยุบตัว . 4.ตรวจสอบค้ำยัน เพราะระหว่างการติดตั้งแผ่นพื้น จะต้องมีการวางค้ำยันแผ่นพื้นกลางแผ่น หากแผ่นยาวมาก ควรใช้ค้ำยัน 2 จุด เพื่อไม่ให้เกิดการตกท้องช้างและแผ่นพื้นแตกร้าวตอนเทคอนกรีตทับหน้า . 5.ตรวสอบรอยต่อของแผ่นพื้น วางสนิทกันหรือไม่ เพราะถ้าวางไม่สนิท คอนกรีตอาจจะไหลออกตอนเทคอนกรีตทับหน้า . แผ่นพื้นสำเร็จรูปของ DCON มีความยาวและจำนวนลวดตามการสั่งผลิต ดังนั้นสามารถเลือกสั่งผลิตตามความต้องการของการออกแบบใช้งานได้ . แผ่นพื้นท้องเรียบ DCON - ยอดผลิตสูงสุดในประเทศ - ไม่ต้องทำฝ้า - ได้มาตรฐาน มอก.576-2546 - ได้มาตรฐาน มอก.828-2546 - ผิวเรียบเนียน…
14 Aug 2023

2 น้ำหนักบรรทุกที่ใช้ออกแบบ

น้ำหนักบรรทุกที่กระทําต่อระบบพื้นคอนกรีตสําเร็จรูปอัดแรงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ น้ำหนักบรรทุกปลอดภัย (Live Load) น้ำหนักบรรทุกปลอดภัย หรือ น้ำหนักบรรทุกจร (Live Load) หมายถึง น้ำหนักที่แผ่นพื้นสามารถรับได้ นอกเหนือไปจากน้ำหนักของแผ่นพื้นและน้ำหนักของคอนกรีตทับหน้า เป็นน้ำหนักบรรทุกที่มีการเคลื่อนย้ายได้ ไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงน้ำหนักได้ตลอดเวลา เช่น น้ำหนักของผู้คน สัตว์เลี้ยง เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น น้ำหนักบรรทุกคงที่ (Dead Load) น้ำหนักบรรทุกคงที่ หรือ น้ำหนักตายตัว (Dead Load) หมายถึง น้ำหนักจากตัวแผ่นพื้นคอนกรีตสําเร็จรูปอัดแรง รวมน้ำหนักของคอนกรีตทับหน้า เป็นน้ำหนักที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนในระบบพื้นคอนกรีต ไม่มีการเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงขนาด เช่น ฐานราก เสา คาน พื้น หลังคา ผนัง กระเบื้องปูพื้น แผ่นพื้นสำเร็จรูปของ DCON ก็จะมีตารางการรับน้ำหนักที่รับน้ำหนัก แต่ละความยาวเมตรและจำนวนลวดที่ใช้เช่นกัน แผ่นพื้นท้องเรียบ DCON - ยอดผลิตสูงสุดในประเทศ - ไม่ต้องทำฝ้า -…
19 Jul 2023

พื้นคอนกรีตหล่อในที่ คืออะไร?

พื้นคอนกรีตหล่อในที่ (Cast in place Concrete Slabs) คือการนำเอาคอนกรีต มาเทหล่อในพื้นที่ตัวอาคารหรือตัวบ้าน ด้วยการทำแบบสำหรับหล่อพื้น ผูกเหล็กเชื่อมกับเหล็กในคาน แล้วจึงเทคอนกรีตพื้นให้เป็นเนื้อเดียวกับคานส่วนบน เป็นวิธีที่ใช้กับพื้นที่ชั้นล่างของตัวบ้าน หรือส่วนที่ติดกับพื้นดิน สามารถแบ่งลักษณะพื้นคอนกรีตหล่อในที่ได้ 2 ประเภท คือ 1.พื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slabs on ground) คือ พื้นคอนกรีตที่หล่อลงบนพื้นดินหรือทรายบดอัดแน่นโดยตรง ไม่มีคานในการช่วยรองรับน้ำหนัก การถ่ายน้ำหนักจะถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรง ต้องบดอัดดินหรือทรายให้แน่น เพราะคอนกรีตจะแตกร้าวได้หากดินหรือทรายด้านล่างเกิดการยุบตัว และต้องอยู่อย่างอิสระจากโครงสร้างส่วนอื่นๆ เหมาะกับพื้นที่ ที่ไม่จำเป็นต้องรับน้ำหนักมาก หรือพื้นที่ภายนอกตัวอาคาร เช่น ที่จอดรถ หรือ ถนนหน้าบ้าน 2.พื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slabs on beam) คือ พื้นคอนกรีตที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่คาน นิยมใช้กับพื้นที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ เพื่อป้องกันการทรุดตัว สามารถแบ่งลักษณะการถ่ายน้ำหนักเป็นแบบ พื้นทางเดียว และ พื้นสองทาง หรือ เป็นการกระจายน้ำหนักไปในทิศทางเดียวกัน หรือ กระจายออกเป็น 2 ทิศทาง นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะบริเวณพื้นห้องน้ำ พื้นระเบียง…
19 Jul 2023

5 ขั้นตอนการวางแผ่นพื้นชั้น 1

1.เตรียมพื้นที่ ตรวจเช็คท่อต่างๆ เช่นท่อน้ำทิ้ง ท่อฉีดปลวก ปิดปากท่อเพื่อกันปูนเข้าท่อ ตรวจเช็คคานให้เรียบเสมอกันก่อนติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูป โดยคานต้องมีความกว้างอย่างน้อย 15 เซนติเมตร 2.เตรียมไม้ค้ำยันชั่วคราวบริเวณด้านล่างแผ่นพื้นสำเร็จรูป เพื่อช่วยรับน้ำหนักของคอนกรีตที่เททับแผ่นพื้น ช่วยป้องกันการแตกร้าวหรือตกท้องช้าง 3.วางแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปตามแนวที่ออกแบบไว้ลงบนคานที่เตรียมไว้ และให้แผ่นพื้นพาดคาน 5-7 เซนติเมตร จัดเรียงแผ่นพื้นสำเร็จรูปให้แนบสนิท ไม่มีช่องว่างระหว่างแผ่น 4.ติดตั้งเหล็กเสริมที่ด้านบนแผ่นพื้น ก่อนจะเริ่มเทคอนกรีตทับหน้า เพื่อเสริมความแข็งแรงและป้องกันการแตกร้าวในภายหลัง 5.เทคอนกรีตทับหน้า ทับลงบนแผ่นพื้นสำเร็จรูป โดยเกลี่ยคอนกรีตให้หนาเท่าๆ กัน จากนั้นบ่มคอนกรีตด้วยการฉีดพ่น หรือทาน้ำยาบ่มคอนกรีตลงบนพื้นผิวทันทีที่เริ่มแข็งตัว แผ่นพื้นท้องเรียบ DCON - ยอดผลิตสูงสุดในประเทศ - ไม่ต้องทำฝ้า - ได้มาตรฐาน มอก.576-2546 - ได้มาตรฐาน มอก.828-2546 - ผิวเรียบเนียน ทาสีได้เลย แผ่นพื้นลอนเหลี่ยม DCON - รับน้ำหนักได้มากขึ้น - ประหยัดคอนกรีตทับหน้า - ไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยัน DCON เป็นศูนย์รวมวัสดุก่อสร้างครบวงจร พร้อมส่งทั่วไทย ขนส่งรวดเร็วตรงเวลา ได้มาตรฐาน…
07 Mar 2023

5 ข้อควรระวังในการใช้ HOLLOW CORE

1. การวางแผ่นพื้น HOLLOW CORE ให้วางบนคานโครงสร้างไม่น้อยกว่าข้างละ 7.5 ซม. โดยที่คานต้องเรียบ และถ้าระยะวางคานน้อยกว่า 7.5 ซม.ต้องปรึกษาวิศวกรโครงการก่อนทำการติดตั้ง 2. การตัดหรือเจาะพื้น HOLLOW CORE ต้องตรวจสอบว่าตัดหรือเจาะตรงไหน ขนาดเท่าไหร่ถึงจะถูกต้อง เพราะอาจตัดถูกลวดอัดแรงได้ 3. เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ก่อนวางตะแกรงเหล็กและเทคอนกรีตทับหน้า ต้องหยอดมอร์ตาร์ (ปูนผสมทราย) ตลอดแนว Shear key เพื่อให้แผ่นพื้น HOLLOW CORE สามารถกระจายแรงรับน้ำหนักได้ดี 4. การเทคอนกรีตทับหน้า จะต้องเทแบบกระจาย ไล่จากหัวหรือท้ายแผ่นไปตรงกลางแผ่น ไม่ควรเทคอนกรีตทับหน้าที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง โดยเฉพาะกลางแผ่นพื้น HOLLOW CORE เพราะน้ำหนักของคอนกรีตทับหน้า อาจจะมากกว่าการรับน้ำหนักของแผ่นพื้น HOLLOW CORE ได้ 5. การเทคอนกรีตทับหน้า ถ้าเทคอนกรีตไม่หนาพอหรือปรับ slope ไม่ดี อาจทำให้มีน้ำขังและมีปัญหาการรั่วซึมของน้ำระหว่างรอยต่อ จึงไม่ควรใช้ทำพื้นห้องน้ำ ดาดฟ้า หรือห้องใต้ดิน DCON มีแผ่นพื้น HOLLOW…
01 Feb 2023

2 ระบบพื้นสำหรับบ้านทั่วไปที่ควรรู้

1.พื้นระบบเปียก มีทั้งแบบพื้นคอนกรีตหล่อในที่ ( Cast in Place Slabs) และแผ่นพื้นชนิดที่ต้องเทคอนกรีตทับหน้า เช่นการใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป DCON หรือแผ่นเหล็กพื้นโครงสร้าง โดยพื้นคอนกรีตจะต้องมีการ เทปูนปรับระดับประมาณ 3-5 ซม. ก่อนจะปิดผิวด้วยวัสดุต่างๆ 2.พื้นระบบแห้งหรือพื้นโครงเบา มีทั้งแบบที่เป็นพื้นไม้วางบนตงไม้ หรืออีกแบบหนึ่งที่ใช้วัสดุแผ่นวางบนตงเหล็ก เช่น แผ่นไม้อัดซีเมนต์ (นิยมเปลือยผิว) แผ่นพื้นไฟเบอร์ซีเมนต์ (นิยมใช้วัสดุปิดผิว เช่นไม้ลามิเนต ไม้พื้น ไม้เอ็นจิเนียร์ กระเบื้อง PVC พรม) การทำระบบพื้นแบบเปียก ด้วยการใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป DCON วางบนคาน อย่างน้อยตัวคานควรจะกว้างสัก 15 ซม. เพื่อที่จะวางแผ่นพื้น DCON บนคานได้ด้านละ 5-7 ซม. สำหรับพื้นชั้นล่าง ถ้าไม่ต้องการใช้ไม้ค้ำยันที่เป็นสาเหตุของการเกิดปลวก ก็สามารถเลือกใช้ แผ่นพื้นสำเร็จรูปลอนเหลี่ยม DCON ในการวางแทนแผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ DCON แผ่นพื้นท้องเรียบ DCON - ยอดผลิตสูงสุดในประเทศ - ไม่ต้องทำฝ้า…
09 Jan 2023

ยกบ้านให้สูงขึ้นเลือกวิธีไหนดี?

อยากทำบ้านยกพื้นสูงสัก 50-60 ซม. จะเลือกการบดอัดดินหรือการใช้แผ่นพื้นดี DCON มีคำตอบ 1.การบดอัดดิน คือการเติมดินเข้าไป ทำการบดอัดให้แน่น ปูไวร์เมชแล้วเทคอนกรีตทับ แต่ถ้าใช้ดินใหม่ถมก็อาจมีการยุบตัวของดินทำให้เกิดเป็นช่องว่างได้เหมือนกัน 2.การใช้แผ่นพื้น คือการปล่อยโล่ง เทคาน วางแผ่นพื้นแล้วเทท๊อปปิ้งทับแผ่นพื้น การปล่อยโล่ง ทำให้มีช่องว่าง อาจจะทำให้ปลวกและสัตว์เลื้อยคลานฯเข้ามาอยู่ได้ ซึ่งจริงๆแล้วทั้งสองแบบนี้ ไม่ได้แตกต่างอย่างมีนัยยะ จะเลือกใช้แบบไหนขึ้นอยู่กับงบประมาณและพื้นที่ เพราะบางพื้นที่ ดินแพง จะนำมาถมก็ไม่คุ้ม บางพื้นที่ดินถูก ถ้าถมก็จะคุ้มค่ากว่า และหากต้องการป้องกันปลวก สัตว์เลื้อยคลานฯ ก็สามารถเดินระบบป้องกันได้ทั้งสองแบบ ในการทำคานเพื่อปูแผ่นพื้นสำเร็จรูป DCON อย่างน้อยตัวคานควรจะกว้างสัก 15 ซม. เพื่อที่จะวางแผ่นพื้น DCON บนคานได้ด้านละ 5-7 ซม. และในการทำพื้นชั้นล่าง สามารถเลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปลอนเหลี่ยม DCON กรณีไม่อยากใช้ไม้ค้ำยัน ที่เป็นสาเหตุของการของการเกิดปลวก แผ่นพื้นท้องเรียบ DCON - ยอดผลิตสูงสุดในประเทศ - ไม่ต้องทำฝ้า - ได้มาตรฐาน มอก.576-2546 - ได้มาตรฐาน…
26 Dec 2022

สั่งแผ่นพื้นยังไง? ให้พอดี

บางครั้งเราอาจจะสงสัยหรือกังวลว่าผู้รับเหมาที่มารับสร้างบ้านนั้น จะสั่งวัสดุมาเกินจำเป็นไปหรือไม่ ถ้าเป็นวัสดุ เช่น แผ่นพื้น เมื่อดูจากแบบคานของตัวบ้าน ก็สามารถนำมาคำนวณหาความยาวและขนาดแผ่นพื้นที่ต้องการได้ ส่วนจะเช็คยังไง DCON มีคำตอบ 1.การหาความยาวแผ่นพื้น ใช้ระยะห่างของคานที่จุดกึ่งกลางจากอีกด้านถึงอีกด้าน นำมาลบด้วย 10 ซม. เช่น วัดระยะห่างคานได้ 3 ม. ก็นำมาด้วยลบ 10 ซม. จะได้ความยาวแผ่นพื้นที่ต้องสั่งคือ 2.9 ม.นั่นเอง 2.การหาจำนวนแผ่นพื้น ใช้ระยะห่างของคานที่จุดกึ่งกลางจากอีกด้านถึงอีกด้าน ลบด้วย 20 ซม. เช่น ระยะคานห่าง 4.4 ม. ก็นำมาด้วยลบ 20 ซม. จะได้ 4.2 ม. แล้วนำ 4.2 ม.มาหารด้วยความกว้างของแผ่นพื้น 35 ซม.ก็จะได้จำนวนแผ่นพื้นที่ต้องสั่งคือ 12 แผ่น (420/35=12) จากนั้นทำการคำนวณ ให้ครบทุกช่องของแบบคานทั้งชั้น 1 และชั้น 2 ก็จะรู้ความยาวและจำนวนแผ่นที่จะใช้ทั้งหมด ทำให้สั่งแผ่นพื้นได้พอดีกับจำนวนที่ต้องใช้นั่นเอง…
04 Oct 2022

คานคอดินคืออะไร ?

คานคอดิน (Ground Beam) คานพื้นชั้นหนึ่ง หรือคานพื้นชั้นล่าง คือโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่อาจอยู่ในระดับดิน หรือใกล้ระดับดิน ติดตั้งอยู่เหนือเสาเข็ม ฐานราก และเสาตอม่อ ทำหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุกคงที่ (Dead load) เช่นตัวบ้าน และน้ำหนักบรรทุกจร (Live Load) เช่นการใช้งานบ้าน จากสิ่งที่อยู่เหนือคานคอดินขึ้นไป และถ่ายน้ำหนักลงสู่โครงสร้างฐานราก คานคอดินมีกี่แบบ ? การก่อสร้างคานคอดิน แบ่งจากระดับความสูงจากพื้นดินได้ 2 แบบ ดังนี้ 1.คานคอดินวางบนระดับพื้นดิน คือ การทำคานคอดินให้อยู่สูงจากระดับพื้นดินไม่มากนัก การก่อสร้างจะต้องทำเนินดินให้สูงเท่ากับท้องคาน และเทลีน (Lean) ปรับผิวหน้าดินให้เรียบ เพื่อใช้เป็นแบบหล่อท้องคานแทนการใช้ไม้แบบ โดยคานคอดินประเภทนี้จะใช้ไม้แบบเพียงสองด้านคือซ้ายและขวา ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้แบบที่ด้านล่าง คานคอดินประเภทนี้ เหมาะสำหรับโครงสร้างบ้าน อาคาร ที่อยู่อาศัยทั่วไป 2. คานคอดินอยู่สูงจากระดับพื้นดิน คือ การทำคานคอดินให้อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ระดับท้องคานจะอยู่สูงจากพื้นดิน ทำให้ต้องใช้ไม้แบบหล่อท้องคาน มีผลให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากขึ้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าพิจารณาในหลายๆ ด้านแล้วจะถือว่าคุ้มค่า เช่น การวางระบบท่อใต้พื้นชั้นล่าง…
26 Sep 2022

Temporary support คืออะไร ?

คือ ค้ำยันชั่วคราว โดยใช้อิฐมาก่อเป็นค้ำยันชั่วคราวเพื่อป้องกันแผ่นพื้นหักจากการวางแผ่นพื้น และช่วยลดโอกาสเกิดปลวกที่เกิดจากการใช้ไม้ค้ำยันแผ่นพื้น Temporary support ติดตั้งอย่างไร ? 1.ก่อนการก่อ ควรเทลีนไว้ด้านล่างด้วยเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ support 2.ขึงเอ็น เพื่อป้องกันการก่อ support สูงเกินจนดันแผ่นพื้น ในการปูแผ่นพื้นท้องเรียบ DCON ถ้าต้องการใช้ค้ำยันและหลีกเลี่ยงปลวก ก็ควรก่อ Temporary support แทนการใช้ไม้ค้ำยัน แม้ไม้ค้ำยันจะถูกและสะดวกกว่า แต่ในระยะยาวคงไม่คุ้มค่าเพราะปลวกขึ้นบ้าน แต่ถ้าไม่อยากใช้ไม้ค้ำยัน ก็สามารถเลือกใช้ แผ่นพื้นลอนเหลี่ยม DCON แทนในการปูพื้นชั้นล่างได้ แผ่นพื้นท้องเรียบ DCON - ยอดผลิตสูงสุดในประเทศ - ไม่ต้องทำฝ้า - ได้มาตรฐาน มอก.576-2546 - ได้มาตรฐาน มอก.828-2546 - ผิวเรียบเนียน ทาสีได้เลย แผ่นพื้นลอนเหลี่ยม DCON - รับน้ำหนักได้มากขึ้น - ประหยัดคอนกรีตทับหน้า - ไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยัน