กำแพงกันดิน (Retaining Wall) คือลักษณะโครงสร้างที่ออกแบบ ให้มีความทนทานมากเป็นพิเศษ
สร้างขึ้นมาเพื่อต้านแรงดันของมวลดิน โคลนและน้ำ ในพื้นที่ที่มีความลาดชันและระดับดินที่ต่างกัน
ใช้ป้องกันการพังทลายของดิน เช่น ช่องทางระบายน้ำล้นของเขื่อน หรือริมตลิ่งแม่น้ำ
กำแพงกันดิน (Retaining wall) มีกี่ประเภท?
มี 2 ประเภท โดยแบ่งประเภทจากรูปแบบโครงสร้างและวัสดุที่ใช้ในการสร้างกำแพงกันดิน คือ
1.กำแพงกันดินแบบไม่ใช้เสาเข็ม
กำแพงกันดินแบบไม่ใช้เสาเข็ม คือลักษณะของกำแพงดินที่จะใช้งาน ในกรณีที่เสาเข็มตอกลงไปไม่ได้
1.1 กำแพงกันดินแบบถ่วงน้ำหนัก Gravity wall
คือลักษณะของกำแพงกันดินที่ต้องมีขนาด และน้ำหนักมากเพียงพอ เพื่อจะต้านทานแรงดันดิน
ไม่ให้เกิดการเคลื่อนตัวได้ทั้งที่ฐาน และไม่ให้เกิดการพลิกคว่ำด้วยตัวกำแพงเอง
ใช้ในกรณีที่ต้องการความสูงในช่วง 1–5 เมตร ขนาดของฐานจะต้องมีความกว้าง ประมาณ 0.5–0.7 เท่า ของความสูงของกำแพง
1.2 กำแพงกันดินคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ Cantilever wall
เป็นกำแพงกันดิน ที่ถูกพัฒนามาจากแบบถ่วงน้ำหนัก แต่ต่างกันที่จะมีการเพิ่มคานด้านล่างยื่นเข้าไปในฝั่งดินที่มีความสูงกว่า เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการกันดินโดยที่ไม่ต้องอาศัยเสาเข็ม
ใช้ในกรณีที่กำแพงมีความสูงประมาณ 2-10 เมตร และสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบตัว L คว่ำ และแบบตัว T คว่ำ
2. กำแพงกันดินแบบใช้เสาเข็ม
กำแพงกันดินลักษณะนี้ จะมีการใช้เสาเข็มในการช่วยพยุงกำแพง โดยวัสดุที่ใช้เป็นเสาเข็มจะมีความแตกต่าง
กันออกไปเพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบของพื้นที่บริเวณนั้นๆ
2.1 กำแพงแบบตอกเข็มเสียบแผ่นกันดิน
กำแพงแบบนี้ส่วนใหญ่จะใช้เสาเข็มตัวไอ เพื่อเอาไว้เสียบแผ่นกันดินตามช่องของเสาเข็ม
หากดินมีความต่างระดับกันมาก ก็อาจจะมีการเพิ่มสเตย์เข้ามาเสริม เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
2.2 กำแพงแบบเข็มพืด
เป็นโครงสร้างแบบการตอกเสาเข็มติดๆกัน ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเสาเข็มแบบปูน หรือ เหล็ก
นิยมใช้กำแพงลักษณะนี้ในสถานที่ ที่ติดกับแม่น้ำ
ในการทำรั้ว DCON สามารถทำฐานรากแบบกันดิน และมีสเตย์เสริมเพิ่มตามรูปแบบกำแพงแบบตอกเข็มเสียบแผ่นกันดิน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างของรั้วได้อีกด้วย
รั้วคอนกรีตสำเร็จรูป DCON ถูกออกแบบและผลิตขึ้น เพื่อช่วยให้รั้ว
– สวยงาม
– แข็งแรง
– ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว