โรงจอดรถมีผลกับความสวยงามของบ้าน แต่ความปลอดภัยของโรงจอดรถก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญไม่แพ้กัน
ดังนั้นในการต่อเติมโรงรถ เจ้าของบ้านจึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ
ไม่ว่าจะเป็นงานโครงสร้าง ขนาด สัดส่วนหรือความสวยงามของโรงจอดรถนั่นเอง
หลังคาโรงจอดรถทำอย่างไร
1.คำนวณพื้นที่โรงจอดรถ ให้พอดีกับจำนวนรถ
พื้นที่โรงจอดรถที่เหมาะสม มีขนาดที่ดี สามารถรองรับรถทุกรุ่นและใช้งานได้สบาย ๆ
ควรมีขนาด ประมาณ 2.5 x5.5 เมตร สำหรับจอดรถ 1 คัน
และมีขนาด 5.5 x 5.5 เมตร เป็นอย่างน้อย สำหรับบ้านที่มีรถ 2 คัน
2.โครงสร้างบ้าน แยกกับโรงจอดรถปลอดภัยกว่า
แม้การใช้โครงสร้างโรงจอดรถร่วมกับตัวบ้านจะประหยัด แต่ดีคอนไม่แนะนำนะครับ เพราะถ้าเกิดการทรุดตัวของดิน อาจจะทำให้หลังคาโรงจอดรถเคลื่อนตัวและถล่มมาทับรถและคนได้นะครับ
ดังนั้นการตั้งเสาแยกต่างหากสำหรับโรงจอดรถจึงปลอดภัยและไม่ถล่มลงมาง่ายๆ
3.ชะลอการทรุด ด้วยการเตรียมพื้นที่ดี
ในการเตรียมโครงสร้างพื้นที่จอดรถ ควรบดอัดพื้นดินเดิมให้แน่นและสม่ำเสมอทั่วกัน แต่ถ้าต้องการเพิ่มความมั่นใจในการรับน้ำหนักมากขึ้น ให้ทำพื้นแบบ Slab on Ground ที่มีโครงสร้างใต้ดิน เสาเข็มแบบปูพรม หรือฐานเข็มกลุ่มรองรับด้านล่าง
เพราะเสาเข็มจะช่วยถ่ายโอนน้ำหนักลงไปในชั้นดิน เสาเข็มที่ดีและมีประสิทธิภาพจึงควรมีความยาวและตอกลึกถึงชั้นดินแข็งเพื่อรองรับน้ำหนักของโรงจอดรถและชะลอการทรุดตัวในระยะยาว
ดังนั้นการทำโรงจอดรถ สามารถเลือกใช้ฟุตติ้งสำเร็จรูปดีคอน และเสาเข็มหกเหลี่ยมกลวงดีคอน ในการทำฐานรากหรือตอกปูพรมให้กับพื้น เพื่อชะลอการทรุดตัว สร้างความมั่นใจได้ว่าโรงจอดรถจะไม่ทรุดหรือถล่มมาง่ายๆ ด้วยครับ
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง DCON
– ขนาดเล็ก
– น้ำหนักเบา
– สะดวกในการขนส่ง
– ติดตั้งง่าย
หน้าตัด 15 ซม ความยาว 3, 4, และ 6 เมตร
ใช้เป็นฐานรากในการรับน้ำหนักสิ่งปลูกสร้างขนาดเบา เช่น เสารั้ว โรงจอดรถ ทางเดินเชื่อมอาคาร ชานชาลา พื้นโกดัง