fbpx

แผ่นพื้นลอนเหลี่ยม

ลักษณะทั่วไป

มีคุณสมบัติคล้ายกับแผ่นพื้นท้องเรียบ เพียงแต่มีความหนา 7 cm ลักษณะท้องพื้นจะเป็น 3 ขา ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับชนิดท้องเรียบแล้ว น้ำหนักของแผ่นจะเท่ากันแม้จะมีความหนามากกว่า เนื่องจากลักษณะของการเว้าเป็นเหลี่ยมๆ ด้านล่าง จึงช่วยลดน้ำหนักของเนื้อคอนกรีตที่ไม่จำเป็นออกไปด้วยความหนาที่มากกว่า ดังกล่าว ทำให้สามารถเพิ่มขนาดความยาวของแผ่นพื้นที่จะวางบนคานได้ยาวขึ้น โดยไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยัน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสะดวกในการติดตั้ง รวมทั้งลดปัญหาเรื่องปลวกที่เกิดจากการใช้ไม้ค้ำยัน

การใช้งาน

ใช้งานได้เหมือนกับแผ่นพื้นท้องเรียบทุกประการ และจะเหมาะที่สุดกับการนำไปใช้ติดตั้งงานพื้นชั้นล่าง เพราะไม่ต้องค้ำยันทิ้งไว้ในระยะยาว ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องปลวก

ข้อดีของพื้นลอนเหลี่ยม

1. ไม่ต้องทำค้ำยันทิ้งไว้ในการปูแผ่นพื้นชั้นล่างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปลวก
2. ลดปัญหาพื้นตกท้องช้างในช่วง span ที่ยาว
3. สามารรับน้ำหนักได้มากกว่าพื้นท้องเรียบ
4. ประหยัดค่าคอนกรีตทับหน้า เพราะพื้นลอนเหลี่ยมเท Topping อย่างน้อยได้ 4 cm แต่พื้นท้องเรียบต้องเท Topping อย่างน้อย 5 cm

อ่านเพิ่ม

คำถามที่พบบ่อย​

ใช้เพื่อเชื่อมติดกันระหว่างแผ่นพื้นแผ่นต่อแผ่น  ในขณะทำการติดตั้งเพื่อปรับระดับท้องพื้นให้เรียบ เสมอกัน ช่วยในด้านความสวยงาม

ไม่มีได้ เพราะ SHEAR KEY เป็นเพียงตัวช่วยในการปรับระดับท้องพื้นเท่านั้น แต่ไม่มีส่วนในการรับ น้ำหนักของพื้น

ต้องใช้คน 2 คน โดยมีวิธีการทำงานดังนี้

1.คนแรกปฎิบัติงานอยู่ด้านบน งัดแผ่นพื้นให้เสมอกัน แล้วทำการเชื่อมด้วย เครื่องเชื่อมไฟฟ้า ทำค้ำยันก่อนดันระดับ

2.คนที่สองปฎิบัติงานอยู่ด้านล่างคอยดูระดับของท้องพื้นให้เสมอกันแล้วส่งสัญญานให้คนแรก เพื่อทำการเชื่อม (ต้องทำค้ำยันก่อนปรับระดับ)

CLEAR SPAN คือระยะช่วงพาดจากขอบในคานถึงขอบในคาน คิดคำนวณโดยใช้ ระยะระหว่างจุดศูนย์กลางคาน ถึงจุดศูนย์กลางคาน หักความกว้างคานออก

ควรวางบนคานข้างละ 7.5 เซนติเมตรและต้องไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร

ผิวคานที่จะใช้วางแผ่นพื้นต้องเรียบเสมอกัน เมื่อวางแผ่นพื้นแล้วจะได้ไม่กระดก ซึ่งอาจจะทำให้พื้นแตกร้าวได้เพราะน้ำหนักที่กระทำเป็นจุด (POINT LOAD) หากคานขรุขระ ไม่เรียบ

ใช้ไม้แบบตีเสริมปิดช่องว่าง ยกระดับไม้แบบให้สูงกว่าท้องพื้นอย่างน้อย 1 ซม. เพื่อความสวยงาม ในการแต่ง ปูนเซาะร่องภายหลังการเทคอนกรีตทับหน้า

ใช้น้ำฉีดแผ่นพื้นเพื่อหารอยร้าว ดูการแอ่นตัว และทำความสะอาดแผ่นพื้น 

ค้ำยันชั่วคราวมีหน้าที่ประคองตัวแผ่นให้อยู่ในแนวระดับที่เหมาะสม ช่วยป้องกันปัญหาแผ่นแตกร้าว  ระหว่างการก่อสร้างที่พื้นยังรับน้ำหนักได้ไม่มากนัก ก่อนที่จะเทคอนกรีตทับหน้า และเมื่อคอนกรีต  ทับหน้าได้อายุแล้ว ก็สามารถถอดค้ำยันชั่วคราวได้

ต้องตีไม้หน้าสาม (3นิ้ว) หรือใช้ค้ำยันเหล็กค้ำบริเวณกึ่งกลางแผ่นดันให้ผิวล่างแผ่นพื้นสูงกว่าระดับคาน 3- 5 มม. เพื่อป้องกันการตกท้องช้าง

เมื่อคอนกรีตทับหน้าได้ STRENGTH ไม่ต่ำกว่า 85 % ของ 210 ksc โดยปกติ 7 วัน

ต้องยิงปั้มปูนไปลงตรงจุดที่ใกล้คานให้มากที่สุด แล้วให้รีบเกลี่ยปูนกระจายออกไปให้ทั่ว เพื่อป้องกันการเกิด POINT LOAD ที่จะทำให้เกิดการแตกร้าวของแผ่นพื้น

ตัดที่ระยะของความกว้าง 1 ใน 3 ของความกว้างแผ่นพื้น (ไม่ควรเกินครึ่งแผ่น)

ใช้ไฟเบอร์ตัดเหล็ก ไม่ควรใช้ค้อนทุบเพราะจะทำให้แผ่นแตกร้าวได้

ยาปูนที่แนวรอยต่อแล้วชักร่องโดยปูนทรายละเอียด

ใช้ 2 คน แบก หัวและ 2 คนหามท้ายโดยใช้เหล็กคล้องหูยก ผูกเชือกใช้ไม้สอดเชือกหาม

จะรับน้ำหนักได้มากขึ้น แต่คอนกรีตทับหน้าต้องหนา อยู่ในระดับที่แผ่นพื้นสามารถรับน้ำหนักได้

1. การใส่ลวดมากขึ้นทำให้เกิดแรงเค้น – โก่ง

2.แรงเค้น / แรงอัด ทำให้แรงดึงลวดลดลง

3.ลวดมาก จะไม่มีสัญญาณเตือนภัยเพราะแรงดึงสูง จะทำให้เกิดระเบิดจากแรง อัดปูน + เหล็กจะหักพร้อมกัน ถล่มทันที

4.ลวดน้อย ลวดจะยืดออกและเกิดรอยร้าวที่ตัวคอนกรีตเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้า . ลวดน้อย ลวดจะยืดออกและเกิดรอยร้าวที่ตัวคอนกรีตเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้า

ทำได้ใช้วัสดุเบา , ไม้หรือยิปซัมซัมบอร์ด ก่อบนคานหรือใกล้คานมากที่สุด และก่อตามแนวขวางของแผ่นพื้น

ใช้ได้และมีข้อแนะนำดังนี้

1. ต้องปรับหน้าคานให้เอียงเล็กน้อย

2. การเทคอนกรีตทับหน้า ต้องเทสโลป (ความลาดเอียงเพื่อกันน้ำขัง)                        

3. ผูกเหล็กเสริม ( temperature steel) 6 มม. ตะแกรง 25 ซม. ป้องกันการแตกร้าว

4. ผูกเหล็กเสริมป้องกัน  NEGATIVE MOMENT + แรงดีดกลับตัว เสริมเหล็กตามความยาวของแผ่นพื้น

5. ใส่น้ำยากันซึม   

บทความสินค้า