
1.เพื่อให้รู้ประเภทและชนิดของดินใต้พื้นที่ก่อสร้าง ทราบลักษณะเชิงกล เราจะได้เลือกใช้ฐานรากได้ถูกประเภท เช่น หากดินแข็งพออาจจะเลือกใช้เป็นฐานแผ่แทน
2.เพื่อให้ทราบความลึกของชั้นดินดาน(ดินแข็ง) ว่าลึกเท่าไร เพื่อนำไปคำนวณกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม
เลือกขนาดและความยาวเสาเข็มที่ต้องใช้ได้
3.เพื่อลดความผิดพลาดในการตอกเสาเข็ม เพราะหากเจอชั้นดินแข็ง แต่ไม่หนาที่ชั้นความลึกไม่มาก
อาจทำให้คนตอกเสาเข็มหยุดตอก เพราะคิดว่าถึงชั้นดินแข็งแล้ว ทั้งที่จริงๆสามารถตอกทะลุลงไปได้อีก
หากดินในบริเวณที่สำรวจมีความผันผวนมาก วิศวกรควรสั่งให้เจาะสำรวจดินหลายๆหลุมให้เพียงพอ เพื่อเปรียบเทียบ เพราะอาจต้องออกแบบฐานรากหลายชนิด สำหรับก่อสร้างอาคารนั้น
การเจาะสำรวจดินที่นิยมใช้ มีกี่ประเภท ?
มี 2 ประเภท
1.การเจาะล้างด้วยเครื่องเจาะกระแทก (Percussion Drilling)
คือการเจาะที่อาศัยแรงกระแทกของ Heavy chisel, Spun หรือ Wash boring ในการนำดินขึ้นมาจากหลุม
แต่เพราะมีแรงกระแทก ทำให้เกิดการรบกวนตัวอย่างดินในชั้นที่อยู่ลึกลงไป ดังนั้น ต้องใช้ประสบการณ์
ความชำนาญ ในการควบคุมการเจาะเพื่อให้รบกวนดินน้อยที่สุด
2. การเจาะล้างด้วยเครื่องเจาะปั่น (Rotary Drilling)
คือ การใช้ใบมีดหรือหัวเจาะหมุนลงไปในดิน โดยกำลังของเครื่องยนต์ ทำงานได้เร็ว นิยมใช้สำหรับเจาะหิน
แต่ต้องใช้น้ำเป็นตัวช่วยระบายความร้อนที่หัวเจาะที่ก้นหลุมด้านล่าง
ข้อดี-เสีย เครื่องเจาะกระแทก VS เครื่องเจาะปั่น
เครื่องเจาะกระแทก (Percussion Drilling)
1. นํ้าหนักเบา การขนย้ายทําได้สะดวก
2. เคลื่อนย้ายเข้าตําแหน่งหลุมเจาะได้ง่ายสามารถทํางานภายในพื้นที่แคบๆ ได้
3. สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อย เมื่อเทียบกับแบบเจาะปั่น
เครื่องเจาะปั่น (Rotary Drilling)
1. สามารถเจาะหลุมได้ทุกขนาด และทุกสภาพชั้นดิน หรือแม้แต่ชั้นหิน
2. การเคลื่อนย้ายเข้าพื้นที่สํารวจที่มีความลาดชัน ทําได้ง่ายกว่าเครื่องเจาะกระแทก
3. การติดตั้งท่อกันดินในระดับลึกทําได้ง่าย
4. ช่วยการติดตั้งท่อและอุปกรณ์สําหรับการทดสอบต่างๆ
5. อัตราการเจาะหลุมเร็วกว่าเครื่องเจาะกระแทก
สรุป
1.ควรทำการเจาะสำรวจดินทุกครั้งก่อนการก่อสร้างอาคาร
2.หากพื้นที่มีความผันผวนของชั้นดินมาก ควรเจาะสำรวจให้เพียงพอ เพื่อเปรียบเทียบ
เพราะการเจาะสำรวจดินสามารถลดความเสี่ยงของความเสียหายจากอาคารทรุดได้ อย่าประหยัดจนเสี่ยงต่อการทรุดของอาคาร
เสาเข็มดีคอน ก่อนจะทำการตอก ก็จะมีการเจาะสำรวจดินตามความต้องการของลูกค้า
เพื่อเลือกขนาดและความยาวของเสาเข็มที่จะใช้งานได้อย่างเหมาะสม
เสาเข็ม DCON มีการผลิตและใช้วัสดุที่ดี มีการตอกที่มีคุณภาพ
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงของดีคอน จะมีทั้งแบบเสาไอ และเสาสี่เหลี่ยมตัน
เสาเข็ม DCON แข็งแรง ทนทาน มาตรฐานระดับโลก “ ตรวจสอบคุณภาพได้จริง ”
เพราะ DCON มีการเก็บหลักฐานการตอกเสาเข็มด้วยการบันทึกวิดีโอ
เพื่อให้สามารถตรวจสอบคุณภาพการตอกเสาเข็ม ว่าได้ตามรายการคำนวณจริง
เสมือนนั่ง Time Machine ย้อนกลับไปดูขณะตอกเสาเข็มได้เลย
เพื่อความมั่นคงของโครงสร้างอาคาร เจาะจงใช้เสาเข็ม DCON
เสาเข็ม DCON มั่นใจทุกขั้นตอนการผลิต ผ่านการควบคุมคุณภาพ ด้วย มอก. และ ISO 9001:2015